ประเทศไทย

สำหรับงานวิจัยในประเทศไทยนั้น ประเด็นที่สำคัญของการดำเนินงานศึกษาคือ ความท้าทายของเกษตรกรรายย่อย และเกษตรกรรายกลาง (โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกข้าว) ในการเผชิญกับการทำเกษตรเพื่อยังชีพ โดยคำถามของงานวิจัยได้ศึกษาถึงความท้าทายดังกล่าวว่ามีความเชื่อมโยงกับพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่อยู่บริเวณโดยรอบของกรุงเทพมหานครอย่างไร โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่ต้องเผชิญกับข้อจำกัด ดังต่อไปนี้

  • การยกระดับห่วงโซ่คุณค่าของผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่มีรายได้ต่ำ หลังจากสิ้นสุดโครงการประกันราคาข้าวของภาครัฐที่ผ่านมา
  • การเกิดภาวะน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน และภาวะน้ำกร่อยในช่วงฤดูแล้ง
  • การเพิ่มขึ้นของเกษตรกรผู้สูงอายุ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการที่เป็นไปได้ของภาคการเกษตรของประเทศไทยโดยอิงจากสถานการณ์ของกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรในปัจจุบัน โดยได้ทำการศึกษาในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำบางปะกงตอนบนในจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งผลการดำเนินงานเบื้องต้นของงานวิจัยดังกล่าวนี้ได้อธิบายถึงลักษณะของระบบการผลิตทางการเกษตรที่สัมพันธ์กับการจัดการน้ำในระดับพื้นที่  (รายงานฉบับเต็มภาษาอังกฤษ: Aguilhon, 2560, และรายงานฉบับสังเคราะห์ข้อมูลภาษาไทย: Phiboon และคณะ, 2560), การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการประเมินการใช้น้ำในลุ่มน้ำบางปะกง (รายงานฉบับเต็มภาษาไทย: Pannon, 2561) และผลการศึกษาเกษตรกรรุ่นใหม่ในหัวข้อ 1) ความหลากหลายของเกษตรกรรุ่นใหม่: คุณลักษณะ ปัญหาที่เผชิญ และการมีส่วนร่วมกับโครงการสนับสนุนเกษตรกร ซึ่งได้ทำการศึกษาในจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดเชียงใหม่ (รายงานฉบับเต็มภาษาไทย: Cochetel และคณะ, 2560), 2) การทบทวนงานศึกษาเกี่ยวกับนโยบายการสนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ในระดับนานาชาติ และมุมมองของประเทศไทยต่อนโยบายสนับสนุนดังกล่าว ภายใต้บริบทของประเทศไทย (รายงานฉบับเต็มภาษาไทย: Faysse, 2560), 3) งานศึกษาเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของคนรุ่นใหม่ต่อภาคการเกษตรและการประกอบอาชีพทางการเกษตร (รายงานฉบับเต็มภาษาอังกฤษ: Ruiz, 2561a และรายงานสรุปฉบับภาษาไทย: Ruiz, 2561b) ซึ่งผลการศึกษาพบว่าถึงแม้คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าร่วมทำงานในภาคการเกษตร แต่ 75% ของคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ต้องการที่จะเริ่มต้นทำงานภาคการเกษตรถ้าหากข้อจำกัดที่สำคัญ เช่น การเข้าถึงเงินทุน, องค์ความรู้ ฯลฯ ได้รับการแก้ไขและเอื้อให้คนรุ่นใหม่สามารถเริ่มต้นทำการเกษตรได้จริง 4) งานศึกษาที่ได้มุ่งเน้นไปที่นักเรียนนักศึกษาที่เรียนวิทยาลัยเกษตรและมหาวิทยาลัยในไทย ซึ่งได้พบว่านักเรียนนักศึกษาหลายรายมีความสนใจต่อการเป็นเกษตรกร แต่นักเรียนนักศึกษากลุ่มนี้จำต้องวางแผนไปทำงานนอกภาคการเกษตรเป็นเวลาหลายปีเพื่อหาเงินทุนที่เพียงพอต่อการเริ่มต้นทำการเกษตร (รายงานฉบับเต็มภาษาอังกฤษ: Filloux, 2562 และรายงานสรุปฉบับภาษาไทย: Filloux, 2561) นอกจากนี้งานศึกษาดังกล่าวได้จัดทำวีดีโอนำเสนอวิสัยทัศน์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาเกษตรต่อการเป็นเกษตรกรเพื่อเผยแพร่ข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจโดยทั่วไป (link วีดีโอ)

ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2561 – พฤษภาคม พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา โครงการวิจัยร่วมกับหน่วยปฏิบัติการในระดับพื้นที่ (กลุ่มเกษตรกร องค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง) ได้จัดทำภาพอนาคตด้านการเกษตรและการจัดการน้ำในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นทั้งภาพอนาคตที่มีแนวโน้มอาจจะเกิดขึ้นและต้องการให้เกิดขึ้นในพื้นที่  (รายงานฉบับเต็มภาษาไทย: Phiboon และคณะ, 2561) รวมถึงการวิเคราะห์แนวโน้มและการอภิปรายภาพอนาคตถึงแนวทางการดำเนินงานร่วมกันเพื่อให้เกิดเกษตรกรรมยั่งยืน และเอื้อต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ในภาคการเกษตรซึ่งถือว่าเป็นข้อท้าทายที่กลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้เผชิญอยู่ในปัจจุบัน จากการศึกษาของโครงการวิจัยที่ได้ร่วมจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมานั้น ทำให้ได้ภาพอนาคตด้านการเกษตรในอีก 10 ปีข้างหน้า และยุทธศาสตร์เพื่อให้บรรลุภาพอนาคตด้านการเกษตรที่พึงประสงค์ (รายงานฉบับเต็มภาษาไทย: Phiboon และคณะ, 2562)

ส่วนพื้นที่การศึกษาของงานวิจัยในส่วนที่สองนั้น ได้ทำการศึกษาพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร ในการศึกษาหาความสัมพันธ์ของลักษณะการดำเนินการ, การรับรู้ และผลจากการจัดตั้งเขตรับน้ำท่วม หลังการเกิดภาวะน้ำท่วมอย่างหนักที่กรุงเทพมหานครในช่วงปี พ.ศ.2554 ที่ผ่านมา (รายงานฉบับเต็มภาษาอังกฤษ: Trakuldit, 2561)

 

เอกสารประกอบเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสนับสนุนนโยบายที่เอื้อต่อความสำเร็จในการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ในภาคการเกษตรไทย” วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ.2562 ณ ห้อง 701 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เอกสารดาวน์โหลด

  1. ความหลากหลายของเกษตรกรรุ่นใหม่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และปราจีนบุรี: คุณลักษณะ, ปัญหาที่เผชิญ, และการมีส่วนร่วมกับโครงการสนับสนุนเกษตรกร (pdf: เอกสารฉบับเต็ม และแบบสไลด์)
  2. วิสัยทัศน์ของคนรุ่นใหม่ในชุมชนท้องถิ่นต่อการทำงานภาคการเกษตร: กรณีศึกษา อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี (pdf: เอกสารฉบับเต็ม)
  3. เส้นทางของนักศึกษาไทยที่เรียนด้านการเกษตรและความต้องการประกอบอาชีพเกษตรกรรม (pdf: เอกสารฉบับเต็ม)
  4. คนรุ่นใหม่ในชุมชนท้องถิ่น และนักศึกษาที่เรียนด้านการเกษตร: วิสัยทัศน์ด้านการเกษตร และแผนอนาคต (pdf: เอกสารแบบสไลด์)
  5. ทางเลือกนโยบายสนับสนุนการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่: นโยบายที่พึงประสงค์ของคนรุ่นใหม่ในชุมชนท้องถิ่นและนักศึกษาที่เรียนด้านการเกษตร (pdf: เอกสารแบบสไลด์)
  6. นโยบายสนับสนุนการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่: ประสบการณ์ในต่างประเทศ (pdf: เอกสารแบบสไลด์)
  7. นโยบายการสนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่: การทบทวนงานศึกษาในระดับนานาชาติ และครั้งแรกจากมุมมองของประเทศไทย (pdf: เอกสารฉบับเต็ม)
  8. Young Smart Farmer บนเส้นทางเดินที่มั่นคงกับการพัฒนาการเกษตร (pdf: เอกสารแบบสไลด์)
  9. หลักสูตรการพัฒนาผู้นำเกษตรกรรุ่นใหม่ (pdf: เอกสารแบบสไลด์)
  10. โครงการอาสาสมัครเพื่อสังคมสู่ชุมชนบ้านเกิด 2557-2562 (pdf: เอกสารแบบสไลด์)

ท่านสามารถรับชมรายงานข่าวของเวทีประชุมเชิงปฎิบัติการเรื่องเกษตรกรรุ่นใหม่ได้ทางช่อง Thai PBS (นักข่าวพลเมือง)